Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

ติดตั้งโปรแกรมช่วยจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ PHPNuke
ลักษณะการสร้างเนื้อหาในเว็บไซต์แบบ PHPNuke สามารถทำได้หลายแบบ เช่น
1. ใช้ภาษา HTML ช่วยจัดรูปแบบของข้อความ
การใช้ภาษา HTML ช่วยจัดรูปแบบของข้อความ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มลงไปแต่อย่างใด เพียง แต่แทรกคำสั่ง HTML ลงไปเท่านั้น

2. ใช้โปรแกรมจัดการเนื้อหาของ PHPNuke
PHPNuke ได้เตรียมโปรแกรมช่วยจัดการกับเนื้อหาไว้แล้ว ซึ่งก็จะช่วยให้การจัดการกับข้อความหรือ รูปภาพ สร้างตาราง ทำได้ไม่ยาก โดยในขั้นตอนการติดตั้ง ขั้นตอนที่ 19 จะมีตัวเลือกให้ติดตั้ง ถ้าต้องการใช้ งานโปรแกรมนี้ก็คลิกเลือก เปิด แล้วจึงทำการติดตั้งโปรแกรม แต่ในหนังสือจะไม่ใช้ จะเลือก ปิด

3. ใช้โปรแกรมออกแบบเว็บเพจ
การออกแบบเว็บเพจที่สวยงาม สามารถสร้างเว็บเพจได้หลากหลายรูปแบบ อาจใช้ Dreamweaver โปรแกรมออกแบบเว็บเพจยอดนิยม


ผู้เขียนแนะนำให้ไปดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง ที่ผู้เขียนได้จัดทำไว้ที่ www.siamebook.com ซึ่งนอก จากตัวโปรแกรม PHPNuke แล้วก็ยังมีแบบฝึกหัดประกอบการใช้งานหนังสือในส่วนที่เป็นเนื้อหาทั้งหมดที่ ได้นำมาใช้เป็นตัวอย่างเพื่อป้อนข้อมูลลงในโมดูลต่างๆ ไม่ต้องเสียเวลาคิดข้อมูลเอง ช่วยให้เข้าใจและเรียนรู้ การใช้งานได้เร็วขึ้น
1. ไฟล์ของ PHPNuke
ปกติไฟล์ของ PHPNuke จะมีดังนี้ (ยกเว้นโฟลเดอร์ appserv และ phpmyadmin ทั้ง 2 ทั้งโฟลเดอร์นี้ เป็นไฟล์ของโปรแกรม Appserv)

2. ไฟล์และโฟลเดอร์ตัวอย่าง
ไฟล์และโฟลเดอร์ที่เพิ่มเข้ามาจะอยู่ในโฟลเดอร์ชื่อ www ซึ่งก็มีไฟล์และโฟลเดอร์ย่อยภายในดังนี้

01download เป็นไฟล์และโปรแกรมทั้งแบบ Zip และ Exe ไว้ฝึกทดลองสร้างข้อมูลในโมดูลดาวน์ โหลด
02webpage เป็นไฟล์เว็บเพจตัวอย่าง ไว้ทดลองสร้างลิงค์เพื่อใช้งานเว็บเพจที่ไม่ใช่ไฟล์ของ PHPNuke
03banner เก็บไฟล์ภาพและเว็บเพจสำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล จัดการป้ายโฆษณา
04yimage เก็บไฟล์ภาพส่วนตัว เพื่อทดลองเรียกใช้งานหรือนำไปประกอบในเนื้อหาที่สร้างด้วยโมดูล เนื้อหาสาระ โมดูลข่าวสาร โมดูลประกาศ สานุกรม เว็บบอร์ด เป็นต้น
05data เก็บไฟล์ข้อความและไฟล์รูปภาพบางส่วน สำหรับก็อปปี้เพื่อนำไปสร้างเนื้อหาในโมดูลต่างๆ
- 01content.txt เก็บไฟล์ข้อความไว้สร้างประกาศในหน้าแรก
- 02section.txt เก็บไฟล์ข้อความ เพื่อนำไปใช้ทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล เนื้อหา
- 03news.txt เก็บไฟล์ข้อความ เพื่อนำไปใช้ทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล ข่าวสาร
- 04block.txt เก็บไฟล์ข้อความ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลประเภทบล็อกหรือเมนู
- 05polls.txt เก็บไฟล์ข้อความ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล แบบสำรวจ
- 06encyclope เก็บไฟล์ข้อความ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล สารานุกรม
- 07faq เก็บไฟล์ข้อความ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล คำถามถามบ่อย
- 08forums เก็บไฟล์ข้อความ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล Forums หรือเว็บบอร์ด
- 09weblink.txt เก็บไฟล์ข้อความรายชื่อเว็บไซต์ สำหรับนำไปทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล สารบัญเว็บ
- 10download.txt เก็บไฟล์ข้อความไว้ฝึกทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล ดาวน์โหลด
- 11banner.txt เก็บไฟล์ข้อความไว้ฝึกทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล จัดการป้ายโฆษณา
- 12member.txt เก็บไฟล์ข้อความไว้ฝึกทดลองสร้างข้อมูลในโมดูล สมาชิก
โฟลเดอร์ themes เก็บไฟล์รูปภาพ สำหรับนำไปใช้ใน Themes แทนไฟล์ภาพของ PHPNuke

ในการศึกษาการใช้งานหนังสือเล่มนี้ ถ้าผู้อ่านได้ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างมาใช้งาน ก็จะมีไฟล์ที่ผู้เขียน ได้สร้างไว้รวมกับไฟล์และโฟลเดอร์ของ PHPNuke อยู่แล้ว อาจใช้ตัวอย่างงานของผู้เขียนเป็นแนวทางหรือ คิดขึ้นเองก็ตามแต่สะดวก แต่โฟลเดอร์ 05data สามารถลบออกได้ เผื่อถ้าได้นำข้อความไปใช้งานแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้อง ใช้งานอีก

การติดตั้ง PHPNuke เพื่อใช้งานจริง
สำหรับการติดตั้ง PHPNuke เพื่อใช้งานจริง ซึ่งอาจเป็นการสมัครใช้บริการกับฟรีเว็บโฮสติ้งหรือเช่า พื้นที่สร้างเว็บไซต์ก็ตาม ต้องเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับฐานข้อมูล MySQL ด้วย ไม่เช่นนั้นจะใช้งานไม่ได้
1. ข้อความที่แสดงว่า เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ รองรับภาษา PHP และฐานข้อมูลแบบ MySQL


 

เป็นการปรับแต่งส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม PHPNuke ให้พร้อมสำหรับการป้อนข้อมูล ประเภทต่างๆ ลงไป เพื่อให้กลายเป็นเว็บไซต์ที่สมบูรณ์ เป็นเพียงการปรับแต่งระดับพื้นฐานเท่านั้น ต้องศึกษา การปรับแต่งขั้นสูงเพิ่มเติม

รูปแบบเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างในหนังสือเล่มนี้
ลักษณะรูปแบบเว็บไซต์ที่ต้องการสร้าง ที่ได้อธิบายในหนังสือเล่มนี้ ก็ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ง่ายๆ แนะนำแหล่งท่องเที่ยวสำหรับการขับรถเที่ยว ไปเช้าเย็นกลับหรือค้างคืน พร้อมแนะนำเทคนิคการขับรถที่ควรรู้