Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 


อีเมล์สำหรับคนทำเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องมี ก็คือ Gmail เพราะอีเมล์อของผู้ให้บริการรายนี้ยังสามารถต่อยอดไปใช้งานบริการอื่นๆ ของ Google ได้อีกด้วย ซึ่งแต่ละอย่างมีประโยชน์กับการทำเว็บไซต์ทั้งนั้นเช่น การหาเงินเข้าเว็บไซต์ด้วยโฆษณา Google Adsense การโฆษณาเว็บไซต์ผ่าน Google Adwords การฝากไฟล์วิดีโอ ฯลฯ รู้อย่างนี้แล้ว หากจะทำเว็บไซต์หรือเว็บบล็อก ขอบังคับครับว่าต้องมีอีเมล์ของ Gmail

 

1.ไปที่ http://gmail.com
2. คลิกที่ CREATE AN ACCOUNT

 

3. พิมพ์ข้อมูลชองคุณลงไป ชื่อนามสกุลขอให้ใช้ชื่อจริง แนะนำให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ และควรจะตรงกับบัญชีธนาคารสักแห่งของคุณด้วย เพราะการทำเว็บไซต์เมื่อมีคนเข้าชมมากๆ ก็สามารถนำโฆษณา Google Adsense มาติดในเว็บไซต์ เป็นช่องทางทำเงินให้เว็บไซต์ อย่างน้อยที่สุดปีๆ หนึ่งได้เงินค่าเช่าเว็บไซต์ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
4. แนะนำให้เปิดโปรแกรม Notepad พิมพ์แล้วก็อปปี้มาวางจะดีกว่า กรณีเป็นรหัสผ่าน จะได้ไม่ผิดพลาด คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะจดไว้ แล้วก็ลืมในที่สุด
5. พิมพ์ข้อมูลลงไปครับแล้วคลิก ปุ่ม Next step ทำงานต่อ

 

6. จะไปขั้นตอน Create your profile ให้คลิก Next step ทำงานต่อ
gmail_registra0043.jpg

7. คลิก Continue to Gmail

 

8. จะแสดงวิดีโอแนะนำ Gmail ให้คลิก Continue to the new look

 

9. จะเข้าสู่หน้าจอกล่องจดหมายซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ เช่น Inbox (3) ขณะนี้มีอีเมล์ส่งมาอยู่ในกล่องรับจดหมาย 3 ฉบับ
10. การเปิดอ่านอีเมล์ใดๆ ให้คลิกที่ชื่ออีเมล์ได้เลย เช่น Impoet your contacts and old email
11. คำสั่ง Compose สำหรับการสร้างอีเมล์ใหม่ กรณีต้องการส่งอีเมล์


ก่อนจะสมัครใช้งานบล็อกที่ Blogger.com ให้สมัครอีเมล์ของ Gmail ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงมาสมัครเป็นสมาชิกบล็อก
1. ให้ไปที่ www.blogger.com
2. เข้าระบบด้วยอีเมล์ Gmail ที่ได้สมัครไว้กับ Google

 

3. จะไปขั้นตอนให้ยืนยันโปรไฟล์ของคุณ มี 2 แบบ คือ แบบ Google+ และแบบจำกัด ในที่นี้จะเลือกแบบจำกัด เพราะจะเน้นใช้นามแฝง แต่จริงๆ แล้วแนะนำให้ใช้ Google + เพื่อผู้อ่านจะช่วยบอกต่อบทความของคุณให้กับกลุ่มเพื่อนๆ เค้าได้

 

4. จะไปขั้นตอนถัดไป ให้ระบุชื่อที่แสดง ชื่อนี้จะใช้แสดงแทนชื่อคนเขียนบทความในบล็อกนั่นเอง
5. การแจ้งเตือนทางอีเมล์หากต้องการ ก็คลิกติ๊กถูก
6. เสร็จแล้วคลิก ดำเนินการต่อไปยังบล็อกเกอร์

 

7. จะเข้าสู่ระบบของ Blogger ขณะนี้เราได้เป็นสมาชิกของ Blogger เรียบร้อยแล้ว
8. ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนการสร้างบล็อก อ่านบทความถัดไป
9. ส่วนการออกจากระบบให้คลิกชื่อแอคเคาต์ แล้วคลิก ออกจากระบบ


การสร้างบล็อกที่ Blogger อีเมล์ 1 ชื่อ ที่ใช้สมัครเป็นสมาชิกบล็อกเกอร์ จะสามารถสร้างบล็อกได้ทั้งหมด 100 บล็อก สิ่งที่ยากที่สุดก็คือชื่อบล็อก เพราะการตั้งชื่อบล็อกนั้น จะมีหลักการตั้งชื่อที่ยุ่งยากมากๆ ในกรณีที่ต้องการทำเว็บไซต์เพื่อหาเงิน แต่ในที่นี้เอาชื่อง่ายๆ ก่อนก็แล้วกัน
1. คลิกที่ บล็อกใหม่

 

2. ช่องหัวข้อ เป็นชื่อบล็อก ให้ใช้ชื่อบล็อกที่เราจะใช้ แต่การตั้งชื่อจริงๆ แล้วต้องดูคีย์เวิร์ด ในที่นี้เน้นชื่อง่ายๆ ไปก่อน เช่น
3. ชื่อสำคัญก็คือชื่อในช่อง ที่อยู่ นี่คือชื่อที่จะเป็นชื่อเว็บบล็อกของเรานั่นเอง แนะนำให้ใช้ชื่อเดียวกับข้อที่ 1 หรือใกล้เคียงกัน หากปรากฏคำว่า ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็แสดงว่านี่เป็นชื่อที่เราจะใช้ได้ เช่น blogtipsfothais สามารถใช้ได้
4. คลิก สร้างบล็อก ทำงานต่อ

 

5. ในการตั้งชื่อบล็อกครั้งแรก มือใหม่ทุกคนจะตั้งชื่อผิดหลักการทุกคน ไม่ต้องกังวลอะไรเพราะยังสร้างได้มากถึง 100 บล็อกเลยทีเดียว ไม่ต้องเป็นห่วง จากนั้นจะปรากฏรายชื่อบล็อกเพิ่มเข้ามาเช่น Blog Tips For Thais People. และ TabletPCTH Guide ขณะนี้มี 2 บล็อก ยังสร้างได้อีกตั้ง 98 บล็อก
6. เราสามารถเริ่มต้นทำบทความลงบล็อกได้เลย โดยคลิกที่ เริ่มต้นการโพสต์

 

7. พิมพ์บทความลงไป เสร็จแล้วคลิก บันทึกและเผยแพร่ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถอ่านบทความได้
8. จากนั้นคลิก ดูบล็อกเพื่อดูผลงาน

 

9. ผลงานที่ได้ จะเห็นว่าการสร้างบล็อกนั้นง่ายจริงๆ

 

10. ต่อๆ ไป หากต้องการทำบทความหรือโพสต์เพิ่มเข้าไปอีก ให้เข้าระบบแล้วคลิกไอคอน สร้างโพสต์ใหม่ได้เลย
11. จากตัวอย่างมี 2 บล็อก จะเขียนบทความหรือโพสต์ลงบล็อกใด ก็คลิก สร้างโพสต์ใหม่ที่บล็อกนั้นๆ

 

คงจะได้เห็นตัวอย่างการสร้างบล็อกและการสร้างบทความลงบล็อกแบบง่ายๆ กันแล้ว นี่คือหลักการทำงานของบล็อก ที่ควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน แต่การใช้งานจริงยังมีรายละเอียดมากกว่านี้

ปรับแต่งบล็อก Blogger.com ขั้นพื้นฐาน
หัวข้อเกี่ยวกับการปรับแต่งบล็อกที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เช่น
1. เลือกแม่แบบบล็อก
2. แก้ไขโปรโฟล์เจ้าของบล็อก
3. ตั้งค่าพื้นฐานให้บล็อก
4. จัดการรูปแบบ Gadget ของบล็อก
5. แก้ไขชื่อนักเขียน
6. แก้ไขป้ายกำกับ
7. การจัดการกับภาพประกอบบล็อก


จากประสบการณ์การทำเว็บหากเงินจาก Google Adsense แบบลองผิดลองถูก ที่ผ่านมากับเว็บไซต์ภาษาไทยนั้น โอกาสสร้างรายได้ที่ดี ปัญหาในการทำงานหรือสามารถประสบความสำเร็จ ก็อยากจะแบ่งปันดังนี้