Sponsored Ads

การพัฒนาเว็บไซท์

รวมบทความและหนังสืออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซท์ โดยนำเสนอวิธีใช้งานโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโฮมเพจ เช่น การใช้งาน Dreamweaver ใช้งาน Joomla รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ ฯลฯ

 

การเปลี่ยนภาษาไทยหรืออังกฤษใน Joomla
A. เปลี่ยนภาษาในส่วนหน้าตาเว็บ
เป็นการเปลี่ยนภาษาในส่วนหน้าตาเว็บไซต์ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ จะมองเห็นหัวข้อ ลิงค์ต่างๆ เป็นภาษาไทย
1. คลิก Extensions>>Language Manager
2. คลิกเลือก Site
3. คลิกเลือก Thai
4. คลิก Default ตั้งให้เป็นค่าหลัก
5. ในหน้าจอข้อความบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นภาษาไทย เช่น ชื่อผู้ใช้ ปกติจะเป็น Username

B. เปลี่ยนภาษาไทยสำหรับผู้ดูแลระบบ
เป็นการเปลี่ยนภาษาของการจัดการปรับแต่งต่างๆ ในฐานะผู้ดูแลระบบ เปลี่ยนให้เป็นภาษา ไทย แต่ในเล่มนี้จะเน้นภาษาอังกฤษ ก็ต้องตามใจนักเขียนครับ
1. คลิกที่ Administrator
2. คลิกเลือกภาษาไทย Thai
3. คลิกปุ่ม Default
4. เนื้อหาในเล่มนี้เน้นภาษาอังกฤษครับ เพราะฉะนั้นห้ามเปลี่ยน นอกจากได้ศึกษาจนเข้าใจ ดีแล้ว ก็ไม่มีปัญหา ผู้เขียนอยากให้ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า เพราะเวลาที่มีเวอร์ชันใหม่ๆ ออกมา หรือต้องศึกษาโปรแกรมอื่น ก็จะไม่ติดๆ ขัดๆ งึกๆ งักๆ

ติดตั้งตัวแปลภาษาไทยเป็นภาษาอื่นทั่วโลก
เป็นการติดตั้งโปรแกรมเสริมช่วยแปลภาษาไทยเป็นภาษาที่นิยมใช้กันทั่วโลก บทความที่ เราเขียนไว้เป็นภาษาไทย ก็สามารถแปลเป็นภาษาอื่นได้ไม่ยาก แม้จะยังไม่ดีนัก แต่ก็พอสื่อสาร กันได้
ดาวน์โหลดได้ที่ http://extensions.joomla.org ชื่อโปรแกรมเสริมก็คือ GTranlate

การติดตั้งโปรแกรมเสริม
1. เข้าหน้าจอให้ติดตั้งโปรแกรมเสริม คลิกปุ่ม Browse
2. คลิกเลือกไฟล์ก็คือ mod_gtranlate.zip แล้วคลิก Open
3. คลิกปุ่ม Upload File & Install
4. รอสักพัก เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะแสดงข้อความ Install Module Success.

5. เปิดใช้งานโมดูลที่ได้ติดตั้ง คลิก Extensions>>Module Manager
6. คลิกให้โมดูล Gtranslate ทำงาน หรือ Enable

 

ตัวอย่างการใช้งาน
1. เลือกบทความที่ต้องการอ่านและแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น
2. คลิกเลือกภาษาอังกฤษ (English)
3. รอสักพัก โปรแกรมจะแปลเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ

โปรแกรมเสริมช่วยจัดการกับภาษาในเว็บไซต์
เว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอเนื้อหาหลายภาษา อาจดาวน์โหลดโปรแกรมเสริม (Extensions) ด้านภาษา มาติดตั้งเพิ่มให้กับ Joomla! ซึ่งมีให้เลือกใช้มากมาย
1. ไปที่ http://extensions.joomla.org
2. คลิกหมวดหมู่หลัก Language
3. คลิกหมวดหมู่ย่อยได้ตามต้องการ
4. ถ้าทำเว็บไซต์หลายภาษา ก็ควรติดตั้งโปรแกรม Joom!Fish เพื่อสลับภาษาที่แสดง ในหน้าเว็บไซต์จูมล่า หมายถึงสลับภาษาของปุ่มหัวข้อต่างๆ ให้เป็นภาษาอังกฤษหรือไทย แต่ต้องทำ เนื้อหาเป็น 2 ภาษา ไว้ก่อน แม้จะมีตัวแปลภาษา แต่ก็ยังไม่ดีพอที่จะอ่านได้เข้าใจได้

 


ปรับแต่ง แก้ไขสร้างเมนูให้คลิกเลือก
ใน Joomla

 

การนำเสนอหรืออธิบายการใช้งานของผมจะต่างจากหนังสือเล่มอื่น ที่เอาเนื้อหาการสร้าง เมนูมาไว้บทสุดท้าย ก็เพราะเนื้อหาเกือบทั้งหมดที่ได้อธิบายไปแล้ว สามารถสร้างเมนูหรือสร้างหัว ข้อให้คลิกเลือกไปเปิดดูเนื้อหาเหล่านั้นได้ ถ้าได้อธิบายการจัดการกับเมนูไว้บทต้นๆ ผู้อ่านอาจจะ ไม่เข้าใจเวลามีการเรียกใช้ข้อมูลใดๆ
ลักษณะของเมนูก็จะเป็นหัวข้อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ คลิกไปอ่านเนื้อหาหรือไปยังหน้าเว็บเพจ ที่ต้องการเช่น คลิกที่ เว็บบอร์ด เพื่อเข้าเว็บบอร์ด เป็นต้น

ตำแหน่งของเมนูใน Joomla
1. Main Menu เมนเมนูเป็นเมนูหลักของเว็บไซต์
2. Top Menu เป็นเมนูรอง ใช้ในกรณีที่เนื้อหาต้องแสดงด้านล่างแบบเต็มๆ หน้า ก็จะ ต้องมีเมนูแบบนี้ เป็นตัวสำรอง ให้ผู้เข้าชมคลิกเลือก
3. User Menu เป็นเมนูสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์ จะมีรายการคำสั่งให้สมาชิก ได้เลือก เช่น เขียนบทความ แนะนำเว็บไซต์ แก้ไขข้อมูลของตัวสมาชิก ปกติจะไม่แสดงต้องเข้าระบบ ก่อน สมาชิกเว็บไซต์จึงจะมองเห็นและใช้งานได้
4. Resources เป็นเมนูตัวอย่างที่ลิงค์ไปเว็บไซต์อื่นๆ
5. Example Pages เป็นเมนูตัวอย่างที่เรียกใช้หรือลิงค์ไปหาหมวดหมู่ของเนื้อหา พร้อม แสดงตัวอย่างแบบต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาโปรแกรมนี้
6. Key Concepts เป็นเมนูตัวอย่างที่เรียกใช้งานบทความใดๆ ในเว็บไซต์โดยตรง