Sponsored Ads

โปรแกรมวาดภาพ ตกแต่งภาพ ผลิตสิ่งพิมพ์

รวมบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการวาดภาพ ตกแต่งภาพ ออกแบบ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ จัดการกับภาพ เช่น วิวหรือแสดงภาพเป็นแบบแคตตาล็อก แต่งภาพด้วย Photoshop วาดภาพด้วย Illustrator เป็นต้น

 


การพิมพ์หนังสือ ตัวเนื้อหาด้านใน นิยมใช้เพลทตัดสองหรือตัดสอง พิเศษขึ้นอยู่กับขนาดหนังสือ เพลทตัดสอง 1 เพลท มีขนาดประมาณกระดาษ A4 จำนวน 8 แผ่น ต่อ เข้าด้วยกัน หนึ่งเพลทพิมพ์ได้ 8 หน้ากระดาษ หากเป็นการพิมพ์หนังสือขนาด พ็อคเก็ตบุ๊คหรือครึ่งหน้ากระดาษ A4 เพลทตัดสองหนึ่งเพลท พิมพ์ได้ 16 หน้ากระดาษ


การออกแบบหนังสือ จะเลือกใช้เพลทขนาดเท่าไรนั้น จึงเป็นสิ่งที่ต้องวางแผนล่วงหน้า เพราะช่วย ประหยัดค่าพิมพ์และ ค่าทำเพลทได้พอสมควร
การออกแบบปกหนังสือและเนื้อหาจะแยกทำส่วนละเพลท ปกนิยมใช้เพลทตัด 5 หรือตัด 4 เนื้อหา ใช้เพลทตัด 2 เพลทตัด 4 1 แผ่น มีขนาดประมาณกระดาษ A4 4 แผ่น ต่อกัน การเลือกใช้เพลทขนาด เท่าใดนั้น อาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากร้านเพลท และโรงพิมพ์ที่คุณใช้บริการว่าควรใช้เพลทขนาดเท่าใด หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คหรือครึ่งกระดาษ A4 (ชื่อที่เป็นทางการจะเรียกว่าขนาด A5) รูปเล่มเล็ก น่าอ่าน ต้นทุน การผลิตต่ำกว่าหนังสือขนาดอื่นๆ และกระดาษก็ถูกใช้อย่างคุ้มค่า จึงเป็นขนาดของหนังสือที่นิยมใช้กัน มากกว่าขนาดอื่น ๆ


เราจะรู้ว่าหนังสือที่ทำอยู่มีกี่หน้าก็ต่อเมื่อได้จัดรูปเล่มด้วยโปรแกรม PageMaker เสร็จแล้ว จึงจะ สามารถคำนวณต้นทุน อย่างคร่าวๆ ได้ว่าจะต้องลงทุนประมาณเท่าไร เช่น จัดรูปเล่มเป็นหนังสือขนาด พ็อคเก็ตบุ๊คมีทั้งหมด 80 หน้า จะใช้เพลทตัด สองทั้งหมด 80 หาร 16 เท่ากับ 5 เพลท(1 เพลทมี 16 หน้า) ค่าเพลทๆ ละ 700 5 เพลท คิดเป็นเงิน 3500 บาท ในกรณีที่ออก แบบแล้วจำนวณหน้าไม่พอดี กับเพลท เช่น หนังสือมีทั้งหมด 82 หน้า แสดงว่าต้องใช้เพลททั้งหมด 6 เพลท 80 หน้าแรก พอดีกับ 5 เพลท อีก 2 หน้าที่เหลือต้องเพิ่มเพลทอีก 1 เพลท การออกแบบลักษณะนี้จะเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุ เพลทหนึ่งแผ่น มี 16 หน้า แต่หนังสือที่ออกแบบนั้นมีส่วนเกิน 2 หน้า เพลทที่ 6 จึงเหลือที่ว่างอีก 14 หน้า การออกแบบที่ดีควรออกแบบให้จำนวนหน้า พอดีกับเพลทไม่มีขาดหรือเกิน ในกรณีนี้มีทางเลือกอีก 2 ทาง คือตัดเนื้อหาออก 2 หน้ากระดาษเพื่อให้เหลือ 80 หน้าพอดี จะได้ ใช้เพลทเพียง 5 แผ่น หรือเพิ่ม เนื้อหาอีก 14 หน้า เพื่อใช้เพลทที่ 6 อย่างคุ้มค่า

ผู้เขียนจะกล่าวถึงเพลทแต่ละแบบด้วยภาษาที่ชาวบ้านอย่างเราๆ เข้าใจได้ง่ายๆ เช่น เพลทตัด 2 มีขนาด 925 x 740 mm. กับเพลทตัดสองมีขนาดประมาณกระดาษ A4 8 แผ่นเรียงต่อเข้าด้วยกัน ประโยค หลังน่าจะเข้าใจกันง่ายกว่า เพราะเรารู้จักกระดาษ A4 ดี ว่ามีขนาดเท่าไร แต่เพลทขนาด 925 x 740 mm. มันนึกขนาดยากจริงๆ แต่ถ้าคุยกับโรงพิมพ์ก็จะพูดอีกแบบหนึ่ง เช่น 8 หน้ายกหรือ 16 หน้ายก มันคือ อะไรกันนะ มึน

 

 

เพลทตัดสอง 1 แผ่น พิมพ์ลงกระดาษขนาด A4 ได้ 8 แผ่น คำว่า 8 หน้ายก จึงเป็นคำเรียก หนังสือที่มีขนาดใหญ่กว่า A5 ในการทำเพลทจะวางหน้าลงไปได้ 8 หน้า เมื่อพิมพ์ เสร็จแล้วก็ต้อง ยกออก เพื่อวางเพลทแผ่นอื่นๆ ต่อไป ก็เป็นที่มาพิมพ์ 8 หน้าแล้วยกออก ถ้าเป็น 16 หน้ายก จะเป็นหนังสือที่มี ขนาดประมาณ A5 ในเพลทตัดสองหนึ่งแผ่นจะวางหน้าลงไปได้ 16 หน้า ในการนำเพลทไปใช้ก็จะพิมพ์ ได้ครั้งละ 16 หน้า พิมพ์เสร็จก็ยกออก เพื่อเปลี่ยน อันใหม่ ก็เลยเป็น 16 หน้ายก เข้าใจไม่ยาก

 

ตารางราคาค่าเพลท
ราคาต่อไปนี้ เป็นราคาของร้านมัลติซับพลาย อาจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องโทรเข็คราคาก่อนจะติดต่อ ใช้บริการ โดยติดต่อ ได้ที่ โทร 02 944-5300


กระดาษมีหลายแบบเช่น กระดาษปรู๊พสำหรับพิมพ์เพื่อตรวจสอบ หรือสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการ คุณภาพมากนัก เช่น การพิมพ์หนังสือพิมพ์ กระดาษปอนด์ สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพเก็บไว้ได้นาน กระดาษอาร์ตสำหรับพิมพ์ปกหนังสือ โปสเตอร์


ความหนาของกระดาษหน่วยเป็นแกรม หนังสือทั่วๆ ไปพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ขนาด 70 หรือ 80 แกรมเป็นส่วนเนื้อหา ส่วนปกใช้กระดาษอาร์ต ในส่วนนี้อาจสอบถามเพิ่มเติมกับโรงพิมพ์ โดยแจ้ง ลักษณะกระดาษว่าต้องการพิมพ์ลงกระดาษแบบใด เพื่อให้โรงพิมพ์ประมาณราคาออกมา เช่น ต้องการพิมพ์หนังสือขนาดพ็อคเก็ตบุ๊ค 80 หน้า พิมพ์ ด้วยกระดาษปอนด์ขนาด 70 แกรม ปกใช้กระดาษ อาร์ตขนาด 230 แกรม เคลือบยูวีหรือ อาบมัน พิมพ์ทั้งหมด 3000 เล่ม ค่าพิมพ์ทั้งหมดเท่าไร ทางโรงพิมพ์ จะประมาณค่าพิมพ์โดยแจ้งราคาต่อเล่ม เช่น เล่มละ 10 บาท ก็คูณกับจำนวนเล่ม 3,000 x10 = 30,000 บาท


การเลือกชนิดของกระดาษอาจพิจารณาลักษณะหนังสือที่พิมพ์ว่า พิมพ์สีเดียว หรือสี่สี หากเป็นการ พิมพ์สีเดียวจะพิมพ์ ลงบนกระดาษหนาบางเท่าไรก็ได้ แต่การพิมพ์หลายสี ควรเลือกกระดาษหนาพอสมควร

ขนาดของกระดาษ
ขนาดของกระดาษจะสัมพันธ์กับขนาดของเพลท ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษได้ ในการพิมพ์ก็จะพิมพ์ลงบน กระดาษแผ่นใหญ่ แล้วก็พับก่อนนำไปตัดเจียนให้เป็นรูปเล่ม แล้วก็เข้าเล่มต่อไป


โรงพิมพ์เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตหนังสือ การเลือกโรงพิมพ์ อาจพิจารณาหลายๆ ด้านประกอบกัน เช่น การผลิตเพื่อจำหน่าย การเลือกโรงพิมพ์ภายในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียง น่าจะดีกว่า สะดวกต่อการขนส่งให้ตัวแทนจำหน่าย แต่หากเป็นการผลิตเพียงเพื่อแจกจ่าย ในเขตที่คุณ อยู่อาศัย ก็เลือกโรงพิมพ์ใกล้บ้าน ส่วนเรื่องราคาค่าพิมพ์ ก็ต้องสอบถามหลายๆ ที่ เพราะราคาค่าพิมพ์ ของแต่ละ ที่อาจต่างกันเป็นหมื่นเลยทีเดียว และการเลือกโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือเฉพาะด้าน ก็เป็นตัวเลือก ที่ดี เช่นกัน เพื่อคุณภาพในการพิมพ์ และอาจขอคำแนะนำเพิ่มเติมที่มีประโยชน์ต่อการพิมพ์ในครั้งต่อๆ ไปได้