Sponsored Ads

โปรแกรมวาดภาพ ตกแต่งภาพ ผลิตสิ่งพิมพ์

รวมบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการวาดภาพ ตกแต่งภาพ ออกแบบ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ จัดการกับภาพ เช่น วิวหรือแสดงภาพเป็นแบบแคตตาล็อก แต่งภาพด้วย Photoshop วาดภาพด้วย Illustrator เป็นต้น

 


เมื่อรู้ต้นทุนการกำหนดราคาก็ไม่ใช่เรื่องยาก บริษัทที่ทำหน้าที่จัดจำหน่าย จะคิดค่าจัดจำหน่าย 40% จากราคาหน้าปก
ตัวอย่างการคำนวณ หากตั้งราคาหนังสือที่ 100 บาท
การคำนวณอาจคำนวณใน Excel โดยป้อนสูตรในการคำนวณดังนี้

 

ราคาหนังสือ 100 บาท
ตัวแทนจัดจำหน่าย 40% คิดเป็นเงิน 40 บาท
ต้นทุน 20 บาท
หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือ 100 - (40+20) = 40 บาท
พิมพ์ทั้งหมด 3000 เล่ม
ประมาณกำไรทั้งหมด 3000x40 = 120,000 บาท

การกำหนดราคายังมีสูตรการคำนวณแบบอื่นๆ อีกมากมาย ลองค้นหาในหนังสือเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ การออกแบบสิ่งพิมพ์ เป็นแนวทางเพิ่มเติม เพราะตัวแทนจำหน่ายบางที่คิดมากกว่า 40%

การทำหนังสือผลตอบแทนค่อนข้างมาก หากขายดี ติดตลาด ขณะเดียวกันความ เสี่ยงก็สูง หากใน ท้องตลาดมีหนังสือประเภท เดียวกันค่อนข้างมาก ต้องมีเงินทุนสำรองใน ช่วงประมาณ 3 เดือนแรกประมาณ 2 เท่าของราคาค่าพิมพ์ ตัวแทนจัดจำหน่ายบางที่จ่าย เช็คล่วงหน้า 2 เดือน เช่น ส่งหนังสือให้ทางร้าน เดือนมกราคม พอสิ้นเดือนมกราคมก็ติดต่อเช็คยอดจำหน่าย โดยอาจจะได้รับ เช็คล่วงหน้า 2 เดือนคือเดือน มีนาคม จึงจะสามารถนำเงินเข้าบัญชีได้ แต่หลังจากเดือนมีนาคมเป็นต้นไป ก็จะได้รับเช็คทุกเดือน เพราะ การเช็คยอดขายเดือนกุมภาพันธ์ คุณจะได้รับเช็คที่สามารถถอนได้ในเดือนเมษายน
หากหนังสือขายดี ก็สามารถคืนทุนได้ภายในไม่กี่เดือน เผลอๆ เดือนแรกก็คืนทุนแล้ว เดือนต่อไป ก็รับอย่างเดียว จนกว่าจะมีคู่แข่งเขี่ยคุณตกไปหรือหมดยุค


สำหรับตัวแทนจำหน่าย ให้โทรไปคุยรายละเอียดกันโดยตรง ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง บางที่จะขอให้เรา ส่งต้นฉบับไปให้ตรวจ ดูก่อน แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกที ว่าจะรับเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายหรือไม่ สำหรับผู้เขียน จะติดต่อโดยตรงกับ บ.ดวงกมลสมัยจำกัด ขั้นตอน ไม่มีอะไรยุ่งยาก โทรแจ้งรายละเอียดของหนังสือจำนวน หน้า ราคา พร้อมแฟ็กซ์ราย ละเอียดส่งไปให้ด้วย เมื่ออีกฝ่าย ตอบรับก็เป็นอันเสร็จพิธี ต่อไปก็ติดต่อ โรงพิมพ์ที่เสนอ ราคาที่เราเห็นว่าเหมาะสมที่สุด ติดต่อตกลงเรื่องราคาค่าพิมพ์


หลังจากนั้นให้พิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับตัวแทนจัดจำหน่ายและโรงพิมพ์ไว้ที่หน้ารองปกใน อาจดูจาก หนังสือเล่มอื่นๆ เพื่อเป็นแนว ทาง ในการเขียนหน้ารองปกในของหนังสือ


เมื่อแจ้งข้อมูลหนังสือที่หอสมุดแห่งชาติก็จะได้หมายเลข ISBN การแจ้งอาจเดินทางไปเองหรือ แฟ็กซ์รายละเอียดเกี่ยวกับ หนังสือไปที่หอสมุดแห่งชาติ จากนั้นใช้โปรแกรมสร้างบาร์โค้ดแปลงหมายเลข ISBN เป็นบาร์โค้ด สำหรับนำไปติดบนปกหนังสือและ พิมพ์ลงในส่วนรองปกใน

ในส่วนการสร้างบาร์โค้ดนั้น ปกติทางร้านเพลทจะมีบริการจัดการให้ เพราะจะมีโปรแกรมช่วยแปลงตัวเลข ISBN เป็นบาร์โค้ดอยุ่แล้ว ไม่ต้องทำเอง และหลังจากได้จัดพิมพ์หนังสือเสร็จแล้ว ก็ให้ส่งหนังสือตัวอย่างไปให้กับทางหอสมุดแห่งชาติ 1-2 เล่ม

การขอ ISBN เราไม่ต้องจดเป็นบริษัทหรือหจก เป็นบุึคคลธรรมดาที่อยากจะทำหนังสือออกวางขายก็ทำได้เลย โดยเราตั้งสำนักพิมพ์ ก็ตั้งชื่อเอง ออกแบบโลโก้ไว้ติดหน้าปก หรือไว้ใช้บนเว็บไซต์ ไม่มีอะไรซับซ้อน


เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว โรงพิมพ์ตัวแทนจัดจำหน่าย การขอหมายเลข ISBN เงินทุน คราวนี้ก็เตรียมต้นฉบับ เพื่อนำไปใช้งานจริง โดยบันทึกไฟล์ทั้งหมดลงแผ่น ซีดี นำแผ่นไปส่งร้านเพลท ที่ได้สอบถามราคาไว้แล้ว เพื่อทำเพลทร้านทำเพลท ส่วนใหญ่ จะมีบริการส่งเพลทไปยังโรงพิมพ์ให้ด้วย ไม่ต้องเหนื่อยขนเพลทไปเอง แต่หากเป็นการใช้ บริการครั้งแรก ก็ควรไปให้ถึง ที่ไปรู้จักกันไว้ก่อนจะดีกว่า

เราควรแจ้งเบอร์ติดต่อของโรงพิมพ์ให้กับร้านเพลทด้วย เพื่อให้ร้านเพลทสามารถทำเพลทในแบบที่โรงพิมพ์ ต้องการ ทิ้งเบอร์โทรให้คุยกันเอง โดยปกติเมื่อทางร้านถ่ายฟิล์มเสร็จแล้วก่อนจะอัดเป็นเพลท ก็จะ นัดให้เราไปตรวจสอบ ความเรียบร้อยของงานอีกครั้งหนึ่งก่อน เมื่อเห็นว่าสมบูรณ์ถูกต้องก็จะอัดเป็นเพลท ต่อไป

เราจึงควรตรวจสอบความเรียบร้อยของ งานให้ละเอียด รอบคอบ เพราะในขั้นตอนนี้ ความผิดพลาด ใดๆ ต้องเป็นศูนย์ ทุกอย่างต้องสมบูรณ์ที่สุด จะให้ดีอาจให้ร้านเพลท พิมพ์ปรู๊พออกมาเป็นเล่มให้เราตรวจ ก่อนก็ได้ เสียค่าพิมพ์เพิ่มอีกหน่อย แต่เพื่อความมั่นใจในคุณภาพของงาน แต่ปกติก็ไม่มี ปัญหาอะไร เพราะ เราพิมพ์ตัวอย่าง หนังสือให้ร้านเพลทและโรงพิมพ์ดูเป็นตัวอย่าง ถ้าผิดไปจากนั้นทางร้านต้องรับผิดชอบ


สำหรับท่านใดที่อยู่ต่างจังหวัดไม่แน่ใจว่าจะมีร้านเพลทที่รับไฟล์จากคอมพิวเตอร์ หรือไม่ ก็คงต้อง เตรียมเป็นอาร์ตเวิร์ค (โดยพิมพ์ลงบนกระดาษด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่ ความละเอียด 600x600 Dpi ขึ้นไป)<P> ขั้นตอนยุ่งยากกว่า หากคุณมีเวลาก็โทร ติดต่อกับ โรงพิมพ์ ตัวแทนจัดจำหน่าย และร้านเพลทที่กรุงเทพ น่าจะดีกว่าติดต่อร้านต่างจังหวัด แบ่งเวลามาสักวันสองวัน นักเขียน บางคนอยู่ไกลถึงเชียงใหม่ก็ยังมาใช้ บริการที่กรุงเทพ หรือไม่ก็ส่งไฟล์มายิงฟิล์มในกรุงเทพฯ แล้วให้ทางร้านส่งฟิล์มกลับไปให้ที่บ้าน จากนั้นก็นำ ฟิล์มไปส่งโรงพิมพ์เพื่อให้โรงพิมพ์อัดเพลทตามต้องการ