Sponsored Ads

โปรแกรมวาดภาพ ตกแต่งภาพ ผลิตสิ่งพิมพ์

รวมบทความเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมช่วยในการวาดภาพ ตกแต่งภาพ ออกแบบ ทำสื่อสิ่งพิมพ์ จัดการกับภาพ เช่น วิวหรือแสดงภาพเป็นแบบแคตตาล็อก แต่งภาพด้วย Photoshop วาดภาพด้วย Illustrator เป็นต้น

 


ท้องฟ้าเริ่มสดใส ความเหนื่อยน้อยลง เพราะเหลือเพียงการติดตามงานเท่านั้น ร้านเพลท โรงพิมพ์ อาจจะมีปัญหาบ้าง เรื่อง ความล่าช้า เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ ติดต่อร้านเพลทว่าเป็นอย่างไรบ้าง ไฟล์ใด มีปัญหาบ้าง หลังจากแน่ใจว่าทุกอย่างไปด้วยดี เพลทสมบูรณ์ ก็นัดวันเวลากับทางโรงพิมพ์อีกที ว่าน่าจะเสร็จ วันใดแล้วโทรนัดกับตัวแทนจำหน่ายด้วยว่าหนังสือจะพิมพ์เสร็จ เมื่อไหร่ สามารถส่งหนังสือได้วันไหน นัดโรงพิมพ์ให้ ส่งหนังสือตามกำหนด โรงพิมพ์มีบริการส่งให้อยู่แล้ว ไม่ต้องขนเองให้เมื่อยตุ้ม นอกเสีย จากจะพิมพ์เป็นจำนวนมากตัวแทนจำหน่ายอาจไม่มีที่เก็บ ก็คงต้องหาที่เก็บเอง


ตรงนี้ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้เขียนแนะนำให้เดินทางมาติดต่อโรงพิมพ์ในกรุงเทพ เพราะหากเกิด ปัญหาใดๆ การติดต่อ ประสานงานระหว่างโรงพิมพ์ ร้านทำเพลท ตัวแทน จัดจำหน่ายจะทำได้ง่ายกว่า สิ่งสำคัญอยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้นฉบับ หากถูกต้อง ไม่มี อะไรผิดพลาด ทุกอย่างก็ราบรื่น


เมื่อหนังสือเริ่มวางแผงแล้วก็คอยๆ อย่างเดียว ว่างๆ ไปเดินร้านหนังสือมีหนังสือของเราติดอันดับ ท็อปเท็นกับชาวบ้าน เขาบ้าง หรือไม่ ถ้าช่วงแรกๆ เริ่มมีก็สบายใจได้เลย ยังไงก็ไม่ขาดทุนและถ้ายังติดตลาด ต่อไปเรื่อยๆ เตรียมปิดเกาะช้างฉลองได้เลย
ปล่อยให้ผ่านไปสักเดือนสองเดือน ก็ขอเช็คยอดสักทีหนึ่ง โทรแจ้งกับตัวแทนจัดจำหน่าย เพื่อขอ เช็คยอดขาย
แต่ละเดือนก็ผ่านไปอย่างสบายๆ เดือนหนึ่งไปเก็บเช็คครั้งหนึ่ง เวลาที่เหลือก็ ศึกษาค้นคว้าเขียน เรื่องใหม่หรือทำงานประจำ ไปตามปกติ


เมื่อขายไปสักระยะหนังสือหมดสต๊อก ทางตัวแทนจัดจำหน่ายจะโทรแจ้งให้ทราบ เราก็เพียง แต่ติดต่อไปยังโรงพิมพ์ โอนเงิน ค่าพิมพ์เข้าบัญชีโรงพิมพ์ นัดวันเวลาว่าพิมพ์เสร็จเมื่อไหร่ สามารถ ส่งให้ตัวแทนจัดจำหน่ายได้วันไหน


สำหรับนักเขียนท่านใดที่ทุนน้อยไม่อยากยุ่งยาก เพราะการจัดรูปเล่ม แยกสี ยิงฟิล์ม ทำเพลท ติดต่อ โรงพิมพ์ ฯลฯ ไม่สามารถทำเองได้อาจติดงานประจำ ไม่มีเวลาศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ก็มีหนทางให้เดินอีก ทางหนึ่ง ขอย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 7 การจัด ทำรูปเล่ม เมื่อคุณจัดทำรูปเล่มเสร็จแล้ว ก็จัดส่งให้สำนัก พิมพ์ต่างๆ เผื่อจะมีสำนักพิมพ์ใดสนใจนำไปพิมพ์ แต่ถ้าคุณคิดว่าหนังสือ ของคุณน่าสนใจ ก็เก็บเงินเป็น ทุนพิมพ์เองจะดีกว่า เพราะคุณจะได้ส่วนแบ่งเพียง 15% ของราคาปกเท่านั้น โอกาสโดนเบี้ยวก็เยอะ

สำนัก พิมพ์แจ้งว่าพิมพ์ 3000 เล่ม แต่ยอดพิมพ์จริงมันเกินอยู่แล้ว อาจมั่วนิ่มไป 5000 เล่ม ใครจะไปรู้ถามมาก อาจโดนด่าอีกต่างหาก พยายามสอบถามจากนักเขียนหลายๆ ท่านก็แล้ว กันว่าสำนักพิมพ์ไหนคบได้บ้าง แต่ถ้าเราพิมพ์เองโอกาสโดนโกงน้อยมาก เพราะโรงพิมพ์จะพิมพ์ก็ต่อเมื่อเราสั่งให้พิมพ์เท่านั้น ถ้าแอบลัก ไก่พิมพ์เกิน ก็อาจเกิดปัญหาว่าแล้วจะเอาไปปล่อยที่ไหนคุ้มหรือ ไม่กับชื่อเสียที่จะได้รับ ตัวแทนจัดจำหน่าย ก็อาจโทรมาด่าเรา เพราะตกลงให้เขาจัดจำหน่ายแล้ว ทำไมต้องมีตัวช่วยอีกด้วย เราก็รู้แล้วว่าโรงพิมพ์ พิมพ์เกินจำนวนที่เราสั่ง ตรวจสอบกันได้อยู่แล้ว

ถ้าเป็นหนังสือเพื่อสาธารณะประโยชน์ อาจชอสปอนเซอร์จากห้างร้านบริษัทหรือ หน่วยงานต่างๆ มาเปนทุน ในการจัดพิมพ์ จะช่วยลดค่าใช้ได้พอสมควรเผลอๆ อาจไม่ใช้เงินซักบาท ลงทุนแค่สมองและ แรงกาย


ความรู้เกี่ยวกับแม่สี
แม่สีหลักสำหรับการพิมพ์จะประกอบไปด้วยสี 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan) สีแดงหรือ บานเย็น <I>(Magenta) สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า CMYK เมื่อนำแม่สีเหล่านี้มาผสมกัน ก็จะได้สีออกมาตามต้องการ แต่การผสมสีจะไม่เหมือน การผสมสี ในวิชาศิลปะ การผสมสีจะมีการระบุ ปริมาณที่แน่นอน เช่น C100 Y100 ความหมาย เป็น การผสมสีฟ้า(C) 100% และสีเหลือง(Y) 100% เข้าด้วย กัน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นสีเขียว

ในการออกแบบสิ่งพิมพ์หรือหนังสือจำเป็นต้องมีตารางเทียบสีมา ประกอบการ กำหนดสี ว่าสีที่ต้องการนั้นประกอบด้วยสีอะไรบ้าง สีฟ้า (C) สีแดง (M) สีเหลือง (Y) หรือสีดำ (K) สี ละกี่ เปอร์เซ็น


ในการออกแบบหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ สีของภาพที่เราเห็นใน หน้าจอนั้นจะ เพี้ยนไปจากสีที่พิมพ์จริง(แต่ยกเว้นเครื่องคอมพิวเตอร์บางรุ่น) เช่น ในหน้าจอเห็นสีเป็นสีน้ำเงิน แต่พิมพ์ จริงลงบนกระดาษกลายเป็นสีออกม่วง เพราะ ฉะนั้นในการกำหนดสีให้กับภาพหรือข้อความ จึงต้องอาศัย การเทียบเปอร์เซ็นการผสมสีจากตารางเทียบสีเป็นหลัก ซึ่งเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า ชาร์ดสีหรือไก๊ด์สี และเมื่อ ผสมสีแล้วอาจพบว่าสีในหน้าจอคอมพิวเตอร์ดูเพี้ยนไป ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้เพราะเมื่อพิมพ์จริง ก็จะได้สีตามตัวอย่างในตารางเทียบสี ถ้าได้ผลิตผลงานออกมาสักสองสามชิ้นก็พอจะนึกออกแล้วว่า ต้อง กำหนดสีอย่างไร (ดูตาราง เทียบสีเป็นตัวอย่าง)


ก่อนอื่นเราลองนึกถึงตรายางที่ใช้ประทับตราโรงเรียนโล้โก้ต่างๆ ลักษณะของตรายาง ตรงพื้น จะถูกแกะเป็นรูปภาพสัญลักษณ์ หรือข้อความ ในการใช้งาน จะใช้ตรายางทาบที่หมึกแล้วนำไปปั้มลงบน กระดาษ ลักษณะของเพลทก็คล้ายๆ กับตรายาง ลักษณะ การใช้งานคล้ายๆ กัน เพียงแต่เพลทจะเป็นแผ่น สังกะสีด้านหนึ่งราบเรียบ แต่อีกด้านหนึ่งถูกแกะเป็นรูปภาพหรือข้อความ ตามแต่การออกแบบหนังสือ แต่ละหน้าของนักออกแบบ
เพลทมีสองแบบ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพลทแบบเดียวเท่านั้น เพราะเป็นเพลทที่ใช้กันอยู่ในระบบการ พิมพ์แบบออฟเซ็ท เรียกว่า เพลทออฟเซ็ท ลักษณะจะเป็นแผ่นสังกะสี เนื้อเพลทถูกแกะเป็นภาพหรือข้อความตามแต่การออกแบบแต่ละหน้าของหนังสือ เมื่อนำไปใช้งาน ส่วนที่เป็นภาพซึ่งจะถูกเคลือบด้วยน้ำยา จะทำหน้าที่รับหมึก ส่วนที่เป็นพื้นขาวจะไม่รับหมึก เมื่อคลึงหมึกลง บนกระดาษ จึงติดเป็นรูปเฉพาะจาก ส่วนของเพลทที่รับหมึก


ในการพิมพ์จะนำเพลทไปติดเข้ากับแท่นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่นทรงกลม มี 3 ส่วนด้วยกัน ส่วน A เป็นเพลทลูกคลึงหมึก ทำหน้าที่ทาหมึกลงบนเพลท ทำให้ภาพหรือข้อความที่แกะไว้บน เพลทถูกถ่าย ติดไปกับส่วน B ซึ่งเป็นยางซึ่งจะทำหน้าที่ปั๊มหรือถ่าย ภาพหรือข้อความลงบนกระดาษอีกที ก็จะปรากฏภาพ หรือข้อความออกมาตามที่ได้ออกแบบไว้

 

เพลทจะสัมพันธ์กับสีที่ใช้ในการพิมพ์ หากเป็นการพิมพ์ขาวดำ จะใช้เพลทเพียง 1 เพลท ทาหมึกสีดำ <I>(Black) ลงบนเพลท เมื่อเครื่องพิมพ์ทำงานน้ำหมึกจะถูกถ่ายลงบน กระดาษกลายเป็นภาพขาวดำตามต้องการ การพิมพ์ในลักษณะนี้อาจเรียกว่า การพิมพ์ สีเดียว อาจพิมพ์โดยใช้สีฟ้า (C) สีบานเย็น (M) สีเหลือง (Y) หรือสีดำ (K) แล้วแต่ความต้องการของผู้ผลิตหนังสือ แต่การพิมพ์ ด้วยสีดำจะให้ภาพที่คมชัดและเป็น ที่นิยมพิมพ์มากกว่า


หากเป็นการพิมพ์สี เช่น พิมพ์สี่สี ก็แสดงว่าใช้เพลท 4 แบบ คือ ฟ้า (C) บานเย็น (M) เหลือง (Y) และดำ (K) ต้นทุนการ ผลิตหนังสือแบบสี่สี จึงแพงกว่าการพิมพ์หนังสือแบบสีเดียวหรือขาวดำ เพราะต้อง ใช้หมึกพิมพ์และเพลทถึง 4 แบบและต้องพิมพ์ 4 ครั้ง ในครั้งแรกอาจพิมพ์ด้วยสีเหลือง พิมพ์เสร็จเปลี่ยน เพลทเป็นสีบานเย็น และใส่กระดาษที่ได้พิมพ์ด้วยสีเหลืองเสร็จแล้ว เข้าไปอีกครั้ง จากนั้นจึงพิมพ์สีบาน เย็นทับลงไป การพิมพ์สีฟ้าและสีดำก็ปฏิบัติคล้ายๆ กัน ก็จะได้ภาพสี่สีออกมาตามต้องการ ขั้นตอน ยุ่งยากกว่า ในขณะที่การพิมพ์สีเดียวพิมพ์ครั้งเดียวก็เสร็จเรียบร้อย ไม่ต้องเปลี่ยนเพลท เปลี่ยนหมึก เปลี่ยน กระดาษ แต่ขั้นตอนทั้งหมดอาจยุ่งยากสำหรับคนเท่านั้น ไม่ยุ่งยากสำหรับเครื่องพิมพ์ เพราะสามารถพิมพ์ ออกมาได้ในขั้นตอนเดียว

ภาพหรือข้อความในหน้าหนังสือที่เราออกแบบไว้ ที่มีสีต่างๆ ผสมกันนั้น เมื่อนำไปทำเพลท สี ทั้งหมดจะถูกแยกออก เป็นสีเหลือง สีฟ้า สีบานเย็น และสีดำด้วยเครื่องแยกสี ในขั้นตอนนี้จะเป็นหน้า ที่ของร้านแยกสีทำเพลท หน้าที่ของนักออกแบบก็คือ การกำหนดสีให้ถูกต้องตามตาราง เทียบสีและจัดรูป เล่มอย่าให้ผิดพลาดเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรยุ่งยาก